|
|
fjrigjwwe9r0tb_Effect_Java:StatusBar
สเตนเลส
สเตนเลส หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กในกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อน มีส่วนผสมของโครเมี่ยมอย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี คศ.1903 เมื่อนักโลหะวิทยาพบว่า การเติมโครเมี่ยมลงในเหล็กกล้าธรรมดาทำให้เหล็กมีความต้านทานการเกิดสนิมได้ เหตุใจสเตนเลสจึงทนการกัดกร่อนได้ โลหะทุกชนิดโดยทั่วไปจะทำให้มีปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟล์มออกไซด์บนผิวโลหะ ซึ่งทำให้ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น(oxidation) ส่งผลให้เกิดสภาพพื้นผิวผุกร่อนที่เราเรียกว่า เป็นสนิม แต่ว่าสเตนเลสจะมีโครเมี่ยมผสมอยู่ 10.5% ขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติของฟล์มออกไซด์เปลี่ยนแปลงไป ฟล์มโครเมี่ยมออกไซด์ หรือเรียกว่า ( passive layer) เป็นฟล์มบางๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซึ่งมันจะทำหน้าที่เป็นชั้นป้องกันการกัดกร่อนที่มีประสิทธิภาพยิ่ง และมันก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เองทันที หากพื้นผิวถูกขีดข่วน สเตนเลสแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก - เกรดออสเตนิติก เกรดนี้แม่เหล็กดูดไม่ติด นอกจากส่วนผสมของโครเมี่ยม 18% ที่มีอยู่ในเกรดนี้แล้ว ยังมี นิเกิล ที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน เหล็กชนิดนี้ผลิตได้ง่าย เกรดนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากที่สุด - เกรดเฟอร์ริติก ชนิดนี้แม่เหล็กสามารถดูดติด เพราะมีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมี่ยมเป็นส่วนผสมหลัก คือ ประมาณ 13% หรือ 17% - เกรดมาร์เทนนิติก ชนิดนี้แม่เหล็กสามารถดูดติด โดยทั่วไปแล้วจะมีโครเมี่ยมผสมอยู่ 12% และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักจะนำไปทำส้อม , มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่น ๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในการต้านทานการสึกกร่อน และความแข็งแรงทนทาน - เกรดดูเพล็กซ์ ชนิดนี้แม่เหล็กสามารถดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรด์และ ออสสเตไนด์ มีโครเมี่ยมผสมอยู่ประมาณ 18%-28% และ นิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มัดถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจาก แรงกดดัน ( Stress corrosion cracking resistance ) เหล็กกล้าไร้สนิมที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ออสเตนิติกและเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95% ของเหล็กกล้าไร้สนิมที่นิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน เหล็กกล้าไร้สนิม เพื่อความงามที่คงทน คุณสมบัตืเด่นสองประการของ สเตนเลส ได้แก่ ความแข็งแรงและความทนทาน
|
|
|
|
|
|
|
|
|